เครื่องเขียนญี่ปุ่น (ตอน 1) - ทุกวันนี้คุณยังใช้กระดาษกับปากกาอยู่รึเปล่า?

Nationwide Shopping เครื่องเขียน 2020.10.27
เครื่องเขียนญี่ปุ่น ที่มาพร้อมกับคุณภาพและการใส่ใจในรายละเอียด
ไม่ว่าโลกของเราจะพัฒนาไปไกลแค่ไหน ทั้งโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว ทั้งการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว เข้าถึงได้ง่าย แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีเข้ามาทุ่นแรง ให้เราทำอะไรได้รวดเร็วขึ้น แต่กระดาษกับปากกาก็ยังเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่เรายังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ บางคนชื่นชอบการเขียนด้วยปากกาและกระดาษมากกว่าใช้แท็บเล็ต บางคนชอบการส่งโปสการ์ดหรือจดหมายมากกว่าการส่งอีเมล เพราะมันจับต้องได้และสื่อถึงอารมณ์ได้มากกว่า
ญี่ปุ่นเป็นชาติหนึ่งที่ชื่นชอบการจดบันทึก ไม่ว่าจะเป็นการจดบันทึกรายการซื้อของ (พบได้บบ่อยตามซูเปอร์มาร์เก็ต ที่คุณแม่บ้านจะเดินมาพร้อมกับถุงผ้าและรายการของที่ต้องซื้อ) สมุดพกเล็กๆติดกระเป๋า (ไว้จดงานที่ได้รับมอบหมายหรือเตือนกันลืม) แพลนเนอร์หรือสมุดไดอารี่ (ช่วงใกล้ปีใหม่ร้านขายเครื่องเขียนจะจัดโซขายแพลนเนอร์โดยเฉพาะ และจะมีคนมาซื้อกันอย่างแน่นขนัด) 

สำหรับตอนแรกนั้นเราขอมาแนะนำแบรนด์สมุดและกระดาษน่าใช้ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไปกันก่อน

📒 สมุดห่วง Loose Leaf

มี 2 แบรนด์ที่ชอบใช้ Maruman และ Kokuyo เป็นกระดาษมีรู เหมาะกับการจดเลคเชอร์ เขียนลื่น ไม่ต้องพกสมุดไปหลายเล่ม ตอนเรียนเราพกแค่กระดาษไปหนึ่งซอง จดแยกเป็นวิชาๆ แล้วค่อยนำกลับมารวมเล่มหรือแยกเป็นวิชาที่บ้าน

ที่มารูปภาพ: Maruman

Maruman
พูดถึง Maruman ต้องนึกถึง สมุด Sketch Book ปกสีส้ม-ดำ มีหลากหลายขนาดและนำไปใช้งานได้หลากหลาย ทั้งวาดรูป ทำเป็น Scrap Book หรือจดงานต่างๆ และอีกหนึ่งประเภทที่น่าสนใจก็คือ Loose Leaf หรือกระดาษมีรู ที่มีหลากหลายรูปแบบการใช้งาน กระดาษเนื้อดี บาง หมึกไม่ทะลุไปด้านหลังแม้ใช้ปากกาเมจิก 

ที่มารูปภาพ: Maruman

สมุด Sketch Book ปกสีส้ม-ดำ ใช้งานได้หลากหลายตั้งแต่วาดรูประบายสี สเก็ตช์ภาพ Scrap Book ที่เป็นเอกลักษณ์ของ Maruman

ที่มารูปภาพ: Kokuyo

Kokuyo
หากคุณเคยไปร้านขายเครื่องเขียนในญี่ปุ่นหรือเคยดูอนิเมะ น่าจะเคยเห็นสมุดที่หน้าปกเขียนว่า Campus อยู่บ้าง เป็นสมุดที่เด็กนักเรียนนิยมใช้ มีหลากสี หลายขนาด ฟังก์ชั่นแตกต่างกันไป ทั้งแบบเส้น จุด ตาราง ใช้จดบันทึกการเรียน (คล้ายไดอารี่) เนื้อกระดาษเรียบลื่น ความหนาของกระดาษหลายระดับ

📝 ไดอารี่

ในช่วงปลายปีก่อนจะเริ่มปีใหม่ บรรดาร้านเครื่องเขียนจะมีการจัดร้าน นำไดอารี่หรือแพลนเนอร์มาวางหน้าร้าน เพื่อเตรียมตัวต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง 
Hobonichi 
ไดอารี่ที่มีกระดาษบาง เขียนง่าย หมึกไม่ซึมไปด้านหลัง หน้ากระดาษกว้าง มีพื้นที่ให้เขียนเยอะ แถมมี quote of the day เป็นกิมมิคน่ารักๆอยู่ด้านล่างของหน้ากระดาษแต่ละวัน ปกก็มีให้เลือกหลากหลายทั้งลายการ์ตูนและแบบเรียบๆ (ส่วนตัวเราชอบ Hobonichi Techo มาก โดยเฉพาะหมึกพิมพ์ของแต่ละวันนั้นสีไม่เข้มเกินไป ดูสบายตา ทำให้รู้สึกอยากเขียนทุกวัน)

เว็บไซต์ (ภาษาญี่ปุ่น)

📄 กระดาษโน๊ต

กระดาษโน๊ตญี่ปุ่นมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย ลวดลายน่ารัก หรือไม่ก็เรียบง่ายไปเลย

ที่มารูปภาพ: KING JIM

KING JIM
KING JIM เป็นแบรนด์ที่จำหน่ายทั้งเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน มีดีไซน์ที่เรียบๆแต่เป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วรู้เลยว่าเป็น KING JIM ซึ่งในบรรดาสินค้าเค้าทั้งหมดนั้น เราชอบกระดาษโน๊ตที่มีไอเดียเล็กๆซ่อนไว้อยู่ ซึ่งนั่นก็คือ Kurashi no Kiroku (แปลตรงตัวว่า บันทึกการใช้ชีวิต) โดยจะเป็นกระดาษโน๊ตแผ่นเล็กๆ ที่มีธีมแตกต่างกันออกไปเช่น Travel, Money, Restaurant, Movie, Pet, Cosme, Dream เป็นต้น (ดูธีมทั้งหมดได้ที่นี่ )  ให้เราจดบันทึกเป็นโน๊ตเล็กๆ นำไปเแปะในสมุดบันทึกของเราอีกที เหมาะกับคนชอบการจดแบบ Bullet Journal เขียนไดอารี หรืออยากจดบันทึกเกี่ยวกับงานอดิเรกของตนเอง

เว็บไซต์ (ภาษาญี่ปุ่น)

ที่มารูปภาพ: Muji

Muji
เครื่องเขียนจากมูจิก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่มีคุณภาพ เรียบง่าย ใช้งานสะดวก ไม่มีลวดลายอะไรมากวนใจมากมาย ทำให้เห็นข้อความที่ต้องการจดได้ดี โดยเฉพาะกระดาษโน๊ตแบบ Check List ที่มีช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆด้านหน้า ขนาดกระทัดรัด เหมาะกับการจดเพื่อเตือนความจำหรือรายการที่ต้องทำ (To Do List)

เว็บไซต์
เป็นอย่างไรกันบ้างกับสมุดญี่ปุ่นหลากหลายแบรนด์ เพื่อนๆเคยใช้เล่มไหน หรือมีแบรนด์ไหนอยากแนะนำมาเล่าให้เราฟังได้นะ สำหรับตอนหน้าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องเขียนขนิดไหน รอติดตามได้ทาง facebook แล้วเจอกัน!
Comment
POST
Related Article
Booking.com
ถาม-ตอบ
  • PARTNERS