[ปลาโจบัง-โมโน คืออะไรกันนะ?] พาร์ท 7 การฟื้นตัวหลังจากภัยพิบัตินิวเคลียร์

Tohoku Tour โจบังโมโน 2021.01.17
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 แผ่นดินไหวที่โทโฮคุทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ โจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมหาสมุทรนอกชายฝั่ง ในช่วงสิบปีนับจากนั้นรัฐบาลท้องถิ่นและชาวประมงของฟุกุชิมะได้ร่วมมือกัน เพื่อพยายามฟื้นฟู “ชิโอเมะ” แหล่งประมงที่มีชื่อเสียง โดยมีการทดสอบ การเฝ้าติดตาม การคัดกรอง และการวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการวิจัยในท้องถิ่นที่ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ทะเลในจังหวัดฟุกุชิมะปลอดภัยรึเปล่า? ไปฟังคำตอบจากศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล
  • Misaki Park สถานที่ท่องเที่ยวริมชายฝั่งอิวากิ Marine Tower ที่สามารถมองเห็นได้ทั้งเมืองและมหาสมุทรแปซิฟิก
ในบทความซีรีส์ "โจบังโมโน" ก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงความปลอดภัยของปลาและอาหารทะเลอื่น ๆ ของฟุกุชิมะในปัจจุบัน และหวังว่าเราจะเล่าถึงการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบ และการทดสอบการคัดกรอง เพื่อรับรองความปลอดภัยของอาหารจากทั่วทั้งจังหวัด  ด้วยการทำงานอย่างหนักของชาวประมงในฟุกุชิมะ ทำให้อุตสาหกรรมการประมงเติบโตขึ้นอีกครั้ง และผู้คนทั่วญี่ปุ่นก็กลับมามั่นใจใน โจบังโมโน อาหารทะเลอันโด่งดังของฟุกุชิมะอีกครั้ง

อย่างไรก็ตามจังหวัดฟุกุชิมะไม่ได้มองแค่ระดับรังสีในปลาและอาหารทะเลเท่านั้น  แต่จังหวัดกำลังติดตามและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของระดับรังสีในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับสถานะของสภาพแวดล้อมใต้ทะเลในพื้นที่ รวมทั้งน้ำทะเลและตะกอนบนพื้นทะเล  การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์นี้เป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับรายงานว่า มหาสมุทรนอกชายฝั่งฟุกุชิมะได้กลับมาปลอดภัย ในช่วงหลายปีหลังภัยพิบัตินิวเคลียร์ และผลทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ยังเชื่อมโยงกับการฟื้นฟูธุรกิจประมงของฟุกุชิมะ  งานวิจัยนี้และนักวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินการวิจัยนี้ อยู่ที่ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล ประจำจังหวัดฟุกุชิมะ ซึ่งอยู่ถัดจากสวนมิซากิในเมืองอิวากิ
  • ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล ประจำจังหวัดฟุกุชิมะ
ในปี 2018 ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลประจำจังหวัดฟุกุชิมะ มีการการปรับโครงสร้างและเปลี่ยนชื่อ จนในปี 2019 ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลาง โดยให้ความสำคัญกับการวิจัยทางรังสีมากขึ้น ซึ่งสถานที่แห่งนี้เป็นหัวใจหลักของการวิจัยและทดสอบด้านการประมงของจังหวัดฟุกุชิมะร่วมกับสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันวิจัยทรัพยากรประมงของโซมะ และสถานีทดลองการประมงน้ำจืดประจำจังหวัดฟุกุชิมะในอินะวะชิโระ ซึ่งล้วนศึกษาสถานะปัจจุบันของน่านน้ำในมหาสมุทร แม่น้ำ และทะเลสาบซึ่งมีบทบาทสำคัญในโครงการของฟุกุชิมะในการฟื้นฟูอุตสาหกรรมประมงท้องถิ่น

ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลแบ่งออกเป็นสามแผนก โดยมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมการประมงทางทะเลสภาพแวดล้อมพื้นที่ตกปลาและการวิจัยทางรังสี  มุ่งเน้นไปที่โจบังโมโน ตอนที่ Japankuru เยี่ยมชมศูนย์ เราได้ไปที่แผนกวิจัยกัมมันตภาพรังสี  แผนกนี้ตรวจสอบ และศึกษาวัสดุกัมมันตภาพรังสี ที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการประมงและสภาพแวดล้อมทางทะเลในท้องถิ่น ความเชื่อมโยงอื่นๆ ที่สามารถพบได้ระหว่างการแผ่รังสีและนิเวศวิทยาหรือการกระจายของสิ่งมีชีวิตในทะเลในท้องถิ่น
การทดสอบรังสีของสิ่งมีชีวิตในทะเล (Monitoring)
  • เครื่องตรวจจับสารกึ่งตัวนำ Germanium-Based ของศูนย์วิจัย
ในบทความก่อนหน้านี้ที่เกี่ยวกับการตรวจสอบและการทดสอบการคัดกรอง เราได้ดำเนินการทั้งหมดที่ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรฟุกุชิมะ เพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและทางทะเล  นักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลประจำจังหวัดฟุกุชิมะ ทำการเก็บตัวอย่างและเตรียมการสำหรับการตรวจติดตามการทดสอบของฟุกุชิมะ พร้อมกับการวิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากการทดสอบเดียวกัน  ผลและการวิเคราะห์ที่รวบรวมไว้ที่ศูนย์นี้ ใช้สำหรับการวิจัยเกี่ยวกับรังสีในปลาที่จับได้ในบริเวณชายฝั่งของฟุกุชิมะ (ชายฝั่งซันริคุ) และยังใช้เพื่อระบุความผิดปกติที่สำคัญที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาคอื่นที่อยู่ตามแนวชายฝั่ง

ในการวัดและทดสอบรังสี ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลติดตั้งเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง และศูนย์นี้มีเรือวิจัยที่สำรวจสภาพแวดล้อมทางทะเลในท้องถิ่นและตรวจสอบพื้นที่ทำการประมง  ศูนย์นี้ไม่เพียงรับตัวอย่างปลาจากเรือประมงเท่านั้น แต่ยังใช้เรือวิจัยเพื่อดึงข้อมูลตัวอย่างสำหรับการตรวจสอบการทดสอบและการวิจัยอีกด้วย
  • (กราฟ: Japankuru ข้อมูลกราฟจากสำนักงานจังหวัดฟุกุชิมะ)


    กราฟแสดงปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่เกินมาตรฐานแห่งชาติ (100Bq/kg) และ ตัวอย่างที่ตรวจไม่พบรังสี ต่อปี
    สีแดง: เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่เกิน 100Bq/kg
    สีน้ำเงิน: เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างที่ตรวจไม่พบรังสี
ผลการติดตามจากศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลประจำจังหวัดฟุกุชิมะ และศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรฟุกุชิมะ พร้อมด้วยข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะถูกรวบรวมและเผยแพร่สู่สาธารณะในรูปแบบของการบรรยายและเผยแพร่บนเว็บไซต์ของจังหวัดฟุกุชิมะ และมีกราฟที่เข้าใจง่าย ในระหว่างการเยี่ยมชมของเรา Kyoichi Kamiyama หัวหน้าแผนกวิจัยกัมมันตภาพรังสี ได้อธิบายงานที่พวกเขาทำโดยใช้กราฟและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่างๆ รวมถึงกราฟที่แสดงด้านบน หลังจากแผ่นดินไหวที่โทโฮคุ บรรดาสัตว์ทะเลส่วนใหญ่ที่ถูกจับนอกชายฝั่งฟุกุชิมะแสดงให้เห็นว่าระดับรังสีเกินมาตรฐานความปลอดภัยของญี่ปุ่น (100Bq/kg) ซึ่งมากกกว่า 90% ของตัวอย่างที่ทดสอบ แต่เมื่อเวลาผ่านไประดับรังสีและจำนวนตัวอย่างที่แสดงผลมากกว่า 100Bq/kg ก็ลดลง ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2015 ความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสีในตัวอย่างปลาลดลงต่ำกว่า 100Bq/kg และตั้งแต่ปี 2019 99.8% ของตัวอย่างที่ทดสอบมีกัมมันตภาพรังสีน้อยมากผลการทดสอบกลับมาเป็น "ตรวจไม่พบ"
การติดตามและตรวจสอบปริมาณรังสีในน้ำทะเลและพื้นทะเล
  • ตัวอย่างตะกอนที่ศูนย์วิจัย
ทะเลเป็นระบบนิเวศขนาดใหญ่ ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตทั้งขนาดเล็ก เช่น แพลงก์ตอน และสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ เช่น ปลา เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด  ที่ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล ไม่เพียงแต่ตรวจสอบสิ่งมีชีวิตในทะเลขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังทำการวิจัยและศึกษาสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นอาศัยอยู่ด้วย  อิวากิมารุเป็นเรือวิจัยที่ดูแลโดยศูนย์ มีการออกทะเลเป็นประจำ เพื่อเก็บตัวอย่างตะกอนน้ำทะเลและพื้นทะเล เพื่อนำกลับไปที่ห้องแล็บและวิเคราะห์
  • เครื่องเก็บตัวอย่างพื้นทะเลของเรืออิวากิมารุ
ตามข้อมูลของศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล ความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสีในน้ำทะเลในท้องถิ่นมีการลดลงอย่างรวดเร็วหลังภัยพิบัตินิวเคลียร์ และตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2012 มีปริมาณน้อยกว่า 2 ปีหลังจากที่สารกัมมันตรังสีถูกปล่อยออกมา มีระดับความเข้มข้นของกัมมันตรังสีซีเซียม -137 น้ำทะเลเก็บจากชายฝั่งฟุกุชิมะที่วัดได้ต่ำกว่า 1Bq/L  เมื่อพูดถึงตะกอนพื้นทะเลนักวิจัยรู้แล้วก่อนเกิดภัยพิบัติว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลมากนัก แต่เมื่อพบสารกัมมันตภาพรังสีที่มีความเข้มข้นสูงในตะกอนพื้นทะเลหลังจากเหตุการณ์ระเบิดพวกเขาเริ่มมีการตรวจสอบกัน พวกเขาพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปความเข้มข้นของสารกัมมันตภาพรังสีในตะกอนพื้นทะเลก็ค่อยๆน้อยลงเช่นกัน
  • เครื่องวิเคราะห์ขนาดอนุภาคการเลี้ยวเบนของเลเซอร์ (Laser Diffraction Particle Size Analyzer) ที่ศูนย์วิจัย 
งานวิจัยข้างต้นเกี่ยวกับรังสีในสิ่งแวดล้อมทางทะเล ไม่ใช่งานวิจัยเดียวที่ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล พวกเขายังทำการวิจัยเกี่ยวกับนิเวศวิทยาของปลาในน่านน้ำชายฝั่งของฟุกุชิมะ และศึกษาสภาพของอุตสาหกรรมการประมงพร้อมกับการวัดอุณหภูมิและความเค็มของน้ำทะเลและอื่น ๆ  และการวิจัยก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่ทำเช่นกัน หน้าที่ของศูนย์วิจัยมีทั้ง การสื่อสารกับคนที่ทำงานบนเรือประมงของฟุกุชิมะ แลกเปลี่ยนข้อมูลและทำการวิจัยและพัฒนาระบบและเทคโนโลยีที่อุตสาหกรรมประมงใช้

สิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานนี้คือเรือวิจัยการประมงอิวากิมารุ ดังนั้นทีม Japankuru จึงกระโดดลงเรืออิวากิมารุ เรือที่ไม่ใช่แค่เรือประมงธรรมดา แต่เป็นหัวใจสำคัญของโครงการฟื้นฟูการประมงฟุกุชิมะ
อิวากิมารุ เรือวิจัยการประมง ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล
  • อิวากิมารุ
อิวากิมารุสีขาวสะอาด สดใสราวแสงระยิบระยับภายใต้ท้องฟ้าสีครามที่ท่าเรือโอนะฮามะ ที่ซึ่งเรือจอดอยู่เมื่อไม่ได้ใช้งาน เรืออิวากิมารุลำนี้เป็นรุ่น ที่ 9 เริ่มใช้งานตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี 2014 หลังจากที่เรืออิวากิมารุรุ่นก่อนถูกทิ้ง จากผลพวงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวในโทโฮคุและสึนามิ ในปี 2011 เรืออิวากิ รุ่นที่ 9 ได้สืบทอดจุดประสงค์เดียวกันกับรุ่นก่อน มีการติดตั้งอุปกรณ์สังเกตการณ์ สำหรับเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในทะเล และมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการสุ่มตัวอย่างหาความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสีในน้ำทะเลและตะกอนพื้นทะเล ซึ่งล้วนมีส่วนช่วยในฟื้นฟูการประมงของฟุกุชิมะ
  • อวนลาก
หากเมื่อเทียบกับรุ่นก่อน อิวากิมารุลำนี้นี้มีภารกิจที่สำคัญยิ่งกว่า เพราะเรือไม่เพียงแค่สำรวจสภาพแวดล้อมทางทะเลและทรัพยากรประมง แต่ยังตรวจสอบรังสีในกับสิ่งมีชีวิตในทะเลและสภาพแวดล้อมว่าเป็นอย่างไรหลังจากเกิดภัยพิบัติในปี 2011 บนเรืออิวากิมารุมีอวนหลากหลายแบบสำหรับพื้นที่ที่แตกต่างกันไปของทะเลอ ดังนั้นการเก็บตัวอย่างจากส่วนลึกในมหาสมุทรจึงไม่มีปัญหา นอกจากนี้ยังมีการเก็บตัวอย่างตะกอนน้ำทะเลและพื้นทะเลทุกวัน จากจุดตรวจสอบหลายแห่ง
  • สะพานเดินเรือ
ข้อมูลทุกอย่างจะแสดงอยู่บนหน้าจอ สัญญาณของเซ็นเซอร์จำนวนมากบนเรือ ตั้งแต่การสแกนเรดาร์และโซนาร์ไปจนถึง GPS และหน้าจอที่แสดงตำแหน่งของฝูงปลา CTD บนเรืออิวากิมารุ ตรวจจับความเค็มอุณหภูมิและความลึก ซึ่งจะแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล และส่งไปยังคอมพิวเตอร์ของเรือผ่านสายเคเบิล ทำให้นักวิจัยบนเรือสามารถสังเกตน่านน้ำในทะเลได้ดีขึ้น CTD ยังมาพร้อมกับขวดเก็บตัวอย่างสำหรับเก็บน้ำทะเลซึ่งจะถูกนำกลับไปที่ห้องปฏิบัติการเพื่อการตรวจสอบเพิ่มเติม
ใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
  • คุณ Gyo Kawata รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล จังหวัดฟุกุชิมะ
ในตอนท้ายของการสัมภาษณ์รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล จังหวัดฟุกุชิมะ คุณ Gyo Kawata เขาบอกกับเราว่า "การตรวจติดตามการฉายรังสีเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็ยากที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้คนเพียงแค่รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเราการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นคำถามที่ตอบยาก"  ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สามารถใช้เพื่อแสดงภาพรังสีซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ข้อมูลดิบเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถที่จะทำให้คนเปลี่ยนความคิดได้ สิ่งที่สำคัญคือการใช้ข้อมูลเพื่อโน้มน้าวใจผู้คนและช่วยให้พวกเขาเข้าใจความหมาย ดังที่คุณ Kamiyama หัวหน้าแผนกกัมมันตภาพรังสีอธิบายให้เราฟังว่า 99.8% ของผลการทดสอบการเฝ้าติดตาม ฟุกุชิมะนั้นได้ผลเป็น "ตรวจไม่พบสารกัมมันตรังสี" ซึ่งเป็นสถิติที่สำคัญ คุณ Kawata ยืนยันว่าจะยังคงติดตามเรื่องรังสีอย่างต่อเนื่องและการเผยแพร่ผลลัพธ์เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมาก
  • ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลประจำจังหวัดฟุกุชิมะดำเนินการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้คนสามารถเพลิดเพลินกับโจบังโมโนที่มีชื่อเสียงของฟุกุชิมะได้โดยไม่ต้องกังวล
จากแผนการของศูนย์วิจัยในการฟื้นฟูการประมงของฟุกุชิมะ คุณ Kawata อธิบายว่าการปกป้องและจัดการทรัพยากรทางทะเลในท้องถิ่น การหลีกเลี่ยงการจับปลามากเกินไป และการเฝ้าติดตามรังสีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลจากคนสู่คน ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นชาวประมงหรือผู้บริโภคในชีวิตประจำวัน คุณ Kawata ยังกล่าวอีกว่าเขาหวังที่จะนำเสนอเทคโนโลยี ICT และเครื่องจักรสำหรับวัดความสดของปลา และปริมาณไขมันในห้องปฏิบัติการ โดยการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวอาจช่วยให้ผู้คนเข้าใจการประมงของฟุกุชิมะได้ลึกซึ้งขึ้น  “นี่คือความฝันเล็ก ๆ ของเราที่เราหวังว่าจะทำให้เป็นจริง” เขาอธิบาย  "การแสดงภาพข้อมูลช่วยให้ผู้บริโภคเข้ามาได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราหวังว่าจะได้งบประมาณที่มั่นคงเพื่อนำแผนของเราไปใช้จริง" เขากล่าวพร้อมกับรอยยิ้มที่ดูตื่นเต้น

ศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเลประจำจังหวัดฟุกุชิมะ และอิวากิมารุไม่เพียงแต่รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการประมงและสภาพแวดล้อมทางทะเลของฟุกุชิมะเท่านั้น นักวิจัยยังมีความกระตือรือร้นในงานของพวกเขา ในการช่วยปกป้องและรักษาท้องทะเลของฟุกุชิมะ รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางทะเล พวกเขาตั้งใจพูดถึงรายละเอียดการวิจัยของเขา เพื่อสื่อสารงานสำคัญของพวกเขาให้ทั่วโลกได้รับรู้ และพวกเขายังทำให้สมาชิกทุกคนในทีม Japankuru เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้ดีขึ้นก่อนที่เราจะออกมาจากศูนย์วิจัย

ในบทความถัดไปของซีรีส์โจบังโมโน เราจะพาไปดูกลุ่มนักวิจัยกลุ่มอื่นที่ทำงานเพื่อจัดการโครงการต่างๆสำหรับอุตสาหกรรมประมงของฟุกุชิมะ ที่สถาบันวิจัยทรัพยากรประมงจังหวัดฟุกุชิมะในโซมะ การเลี้ยงปลาจะสามารถสนับสนุนการฟื้นฟูการประมงของฟุกุชิมะได้อย่างไร?  หาข้อมูลเพิ่มเติมกันได้ในตอนที่ 8!
Comment
POST
Related Article
ถาม-ตอบ
  • PARTNERS