ถักเชือกชิเมะนะวะ หนึ่งในประเพณีของศาสนาชินโตและวัฒนธรรมของฟุกุชิมะ

Tohoku Culture ชิเมะนะวะ 2020.12.14
เคยสงสัยหรือไม่ว่าเชือกถักที่อยู่ในศาลเจ้าชินโต ในบ้านคนญี่ปุ่น มันคืออะไร ไปทำความรู้จักกับเชือกชิเมะนะวะกัน!
ชิเมะนะวะ (しめ縄) คือเชือกที่ทำจากฟางข้าวและป่าน ซึ่งมีความหมายทางด้านจิตวิญญาณในศาสนาชินโต จึงพบได้ตามศาลเจ้าและบ้านเรือนทั่วญี่ปุ่น บางครั้งมีการนำเชือกชิเมะนะวะไปใช้เป้นสัญลักษณ์เกี่ยวกับการชำระล้าง และยังใช้ในการทำเครื่องหมายบอกพื้นที่ ระหว่างพื้นที่ของคนทั่วไปและพื้นที่ของเทพเจ้า ซึ่งเชือกชิเมะนะวะที่นักท่องเที่ยวพบได้บ่อยก็คือ เชือกชิเมะนะวะขนาดใหญ่ที่แขวนอยู่ในศาลเจ้า โดยเชือกชิเมะนะวะที่ศาลเจ้าอิซูโมะไทฉะ (Izumo Taisha) น่าจะเป็นเชือกที่มีอายุมากที่สุดในญี่ปุ่น และมาน้ำหนักมากถึง 5 ตัน 

สำหรับเชือกชิเมะนะวะขนาดย่อมลงมานั้น มีไว้สำหรับไล่วิญญาณร้าย สามารถพบได้ตามบ้านคนและตามสำนักงาน และในทริปจ.ฟุกุชิมะล่าสุด เราได้ออกไปนอกเมือง ในเขตไอซุ และได้เข้าร่วมเวิร์คชอปกับคุณ Kumiko Inomata ผู้เชี่ยวชาญในการทำเชือกชิเมะนะวะ เพื่อเอาไปแขวนไว้หน้าประตูอพาร์ตเมนต์เล็กๆในโตเกียวของเรา ในการเตรียมตัวเข้าสู่ปีใหม่!
เชือกชิเมะนะวะ ทำจากฟางข้าวจำนวนมาก โดยเฉพาะข้าวป่ามาโคโมะ (真菰) และป่านเซมะ (精麻) ในญี่ปุ่นมีการใช้ป่านในการนำมาใช้ในพิธีการต่างๆมานาน ซึ่งในปัจจุบันในงานของเทศกาลชินโตบางงาน จะเห็นคนนำป่านนุ่มๆมาพันไว้ที่หน้าผาก 
บริเวณเขตไอซุ ในจังหวัดฟุกุชิมะ มีความเกี่ยวข้องกับป่าน โดยมีประวัติศาสตร์ของการปลูกพืชเพื่อใช้ในทางศาสนา แม้ว่าชาวบ้านยังคงมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น แต่ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ส่วนนี้ได้หายไปจากชาวบ้านส่วนใหญ่ คุณ Kumiko Inomata จึงเข้ามาที่นี่ เพื่อเป็นหัวหน้ากิจกรรมเวิร์คชอปในไอซุ ผู้สร้างผลิตเชือกชิเมะนะวะ รวมถึงงานฝีมืออื่นๆที่ใช้ฟางข้าวและป่าน และยังส่งต่อความรู้นี้ให้แก่ผู้อื่น เราได้เริ่มทำเวิร์คชอปจากการทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ และเรียนรู้ว่าทำไมมันถึงเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อวัฒนธรรมไอซุ
เรามาเริ่มทำเชือกกันเลยดีกว่า แบ่งฟางข้าวออกเป็นสามส่วน เพื่อที่จะนำมาถักเป็นทรงโกโบจิเมะ (ごぼう締め) หรือรากโกโบที่มีรูปทรงเรียวยาวนั่นเอง โดยเริ่มจากบิดฟางสองส่วน การถักฟางที่ดูเหมือนจะง่าย นั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ในระหว่างที่ถักนั้นต้องคอยฉีดน้ำเพื่อให้ฟางไม่แห้งและแตกออกจากกัน 
พวกเราในทีมช่วยกันบอกเพื่อนร่วมทีมว่าจะถักให้แน่นหรือหลวม ทำให้ของแต่ละคนนั้นออกมาไม่เหมือนกัน
อย่าลืมว่าก่อนหน้านี้เราได้บอกไปว่า ต้องแบ่งฟางออกเป็นสามส่วน จากนั้นนำมากาโมะช่อสุดท้ายมาถักเข้าด้วยกัน แล้วม้วนฟางแต่ละเส้นไปทางเดียวกันกับสองเส้นแรก ตลอดเวลาที่ถัดเชือกคุณ Inomata บอกว่าให้หาวิธีการถักของตัวเอง เราก็จะได้เชือกที่มีลักษณะและรูปร่างที่ถูกต้อง 

สุดท้ายแล้วเราก็ถักเสร็จเรียบร้อย ออกมาเป็นเชือกชิเมะนะวะ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ซะทีเดียว
ขั้นแรกให้วางเชือกลง ออกแรงผลักเชือกด้วยมือ ให้ครบทุกด้าน เพื่อให้เชือกออกมาสวยและเข้าที่

ขั้นสุดท้าย ให้นำรวงข้าวแห้งและป่านมาผูกกันเป็นห่วง ใช้ฝ่ามือหมุนเส้นป่านให้เป็นเส้นบางๆ เอามือมาถูกันเหมือนเวลาที่อากาศหนาว เพื่อให้เส้นใยของป่านรวมตัวกัน
นี่ผลงานของเราเอง! เชือกชิเมะนะวะ ที่ทำจากมาโกโมะและเซมะ พร้อมที่จะคอยป้องกันเราจากวิญญาณชั่วร้ายในปี 2021 ปีนี้เป็นปีที่หนักหน่วงจริงๆ หวังว่าเชือกชิเมะนะวะนี้จะทำให้ทุกคนโชคดี

หากสนใจอยากลองทำเชือกชิเมะนะวะด้วยตัวเอง สามารถติดต่อไปที่คุณ Kumiko Inomata และจองได้ที่ Yuimaru
Comment
POST
Related Article
ถาม-ตอบ
  • PARTNERS