เปลี่ยนชีวิตเกษตรกรญี่ปุ่น ด้วยสีเทียนจากเศษพืชผักในฮอกไกโด

Hokkaido Culture 2020.09.02
เปลี่ยนเศษพืชผักเหลือทิ้งให้กลายเป็นของที่ใช้งานได้จริง โดยนักสำรวจขั้วโลกใต้ Keizo Funatsu และ Niki Hills Winery
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้นทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ญี่ปุ่นเองก็ต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ไม่ปกติ และภัยพิบัติต่างๆที่ทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ซึ่งผลกระทบนี้ไม่ใช่เพียงแค่รายรับจะหดหายไปเท่านั้น แต่พืชผลทางเกษตรก็ไม่สามารถส่งขายได้ ซ้ำยังกลายเป็นของเหลือทิ้ง แถมยังต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งพายุไต้ฝุ่น น้ำท่วม และภัยธรมชาติต่างๆนั้นก่อให้เกิดขยะทางการเกษตรตามมา ชุมชนรอบๆ NIKI Hills Winery ในฮอกไกโด รวมทั้งนักสำรวจขั้วโลกใต้ชื่อดังอย่าง Keizo Funatsu จึงเล็งเห็นวิธีการที่จะนำขยะเหล่านี้มาทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้น แทนที่จะทิ้งไปเปล่าๆ เพราะฮอกไกโดนั้นขึ้นชื่อว่ามีทั้งผักผลไม้และอาหารทะเลที่อุดมสมบูรณ์ จึงเกิดแนวคิดในการนำเศษพืชผักหรือขยะที่เกิดจากการเกษตร นำมาเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค
สิ่งที่จุดประกายให้เกิดโครงการนี้ขึ้นก็คือ สีสันที่สดใสของผักและผลไม้ NIKI Hills Winery จึงเริ่มคิดค้นและพัฒนาในการผลิตสีเทียนที่ทำจากเศษพืชผักหลากหลายชนิด โดยมีแผนที่จะผลิตให้เสร็จภายในปี 2020 นี้ โดยแพคเกจของสีเทียนนั้น มีการออกแบบมาเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงบรรยากาศของฮอกไกโด และ NIKI Hills Winery โดยแต่ละสีมีชื่อสีที่มาจาก “โต๊ะอาหารของโรงกลั่นไวน์” ซึ่งเป็นพืชผลของท้องถิ่น นอกจากนี้สีเทียนนั้นยังทำมาจากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถใช้ได้อย่างสบายใจ
อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ไม่ได้จบแค่การผลิตสีเทียนเท่านั้น เพราะ Niki Hills ยังคงคิดถึงวิธีการที่จะทำให้สีเทียนได้ทำงานช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติต่างๆ ให้ชีวิตใหม่แก่เกษตรกรในฮอกไกโด โดยวัตถุดิบจากฮอกไกโดที่ใช้ในการทำสีเทียน (พืชผลที่ไม่สามารถเก็บขายได้ รวมถึงพืชผักที่ต้องทิ้งจากในท้องถิ่นและโรงงานแปรรูปอาหาร) ช่วยลดของเสียที่จำเป็นต้องทิ้งในฮอกไกโด นอกจากนี้สีเทียนนั้นไม่ได้เป็นตัวช่วยเหลือเกษตรกรเพียงอย่างเดียว เพราะกำไรส่วนหนึ่งจากการขายสีเทียนยังนำไปบริจาคให้กับเมืองนิกิ สำหรับโครงการพื้นฟูท้องถิ่นต่างๆ ช่วยเหลือเกษตรกรในการตั้งตัว และเป็นพลังขับเคลื่อนของผู้คน และยังมีการแจกจ่ายไปยังโรงเรียนต่างๆในท้องถิ่น เป็นการเพิ่มโอกาสให้คนรู้จักกับโครงการ และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไปในตัว
Keizo Funatsu ได้กล่าวว่า ความคิดริเริ่มเหล่านี้ ไม่เพียงแต่เป็นการให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องเผชิญในทุกวันแล้ว แต่เขายังหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น และกลายเป็นโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นในอนาคตอีกด้วย 

หากอยากสนุบสนุนโครงการดีๆแบบนี้ สามารถไปเลือกซื้อได้จากที่นี่เลย 
Comment
POST
Related Article
ถาม-ตอบ
  • PARTNERS