CONTENTS
สถาบันวิจัยทรัพยากรประมง ประจำจังหวัดฟุกุชิมะเป็นสถานที่ที่มีเป้าหมายในในการสนับสนุนการประมงในท้องถิ่นด้วยการวิจัยและการเลี้ยงสัตว์ทะเลไปพร้อมๆกัน
ความยั่งยืนของโจบังโมโน
บริเวณมหาสมุทรนอกชายฝั่งฟุกุชิมะหรือ "ทะเลชิโอเมะ" (潮目の海) เป็นจุดเชื่อมต่อของกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นในมหาสมุทรที่มีสภาพแวดล้อมอันสมบูรณ์ เหมาะแก่การเจริญเติบโตของสัตว์ทะเล โดยเฉพาะโจบังโมโน อาหารทะเลคุณภาพดีของฟุกุชิมะ อุตสาหกรรมการประมงของฟุกุชิมะยังคงกลับมายืนหยัดได้อีกครั้งหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติในปี 2011 และในปัจจุบันการประมงในเมืองชายฝั่งทั้งอิวากิและโซมะกำลังสร้างขึ้นใหม่อย่างช้าๆ และปลาโจบังโมโน อาหารทะเลที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวบ้าน ที่พวกเขาหวังว่าจะอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นต่อ ๆ ไป
ตลาดอาหารทะเลแปรรูปอิโซเบะ (Isobe Marine Processing Facility Market)
เพียงแค่มองเข้าไปในตลาดแปรรูปอาหารทะเลอิโซเบะก็จะเห็นถึงความหลากหลายของโจบังโมโน และเห็นได้ว่ามีความสำคัญอย่างไรกับผู้คนในฟุกุชิมะ ตลาดปลาแห่งนี้อยู่ไม่ไกลจากจุดที่เรือประมงของโซมะจับปลาขึ้นมาตอนเช้า เพื่อทำการประมูล ปลาที่จับขึ้นมาได้สดๆวางเรียงบนชั้นและตู้แช่ ทั้งปลา หอย หมึกยักษ์ ปลาทูน่ากระป๋อง และอีกมากมาย ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากลานจอดรถ
หมึกยักษ์ที่ตลาดปลา
หอยปีกนกต้ม ที่ผ่านการทดสอบแล้ว ณ ตลาดปลา
เมื่อดูที่แพคเกจของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแบบใกล้ๆ จะเห็นว่ามีสติ๊กเกอร์ระบุว่าผลิตภัณฑ์นี้ได้ผ่านการทดสอบว่าปลอดภัยจากรังสี ซึ่งบทความก่อนหน้านี้เราได้มีการพูดถึงวิธีการทดสอบ การตรวจสอบรังสีก่อนที่โจบังโมโนจะออกสู่ตลาด ในบทความพาร์ทที่ 6 ของซีรี่ย์โจบังโมโน แต่การทำงานอย่างหนักของนักวิจัยในพื้นที่ และชาวประมงไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้น ผู้คนในบริเวณชายฝั่งฮามะ – โดริของฟุกุชิมะนั้นอยากให้วัฒนธรรมการจับปลาในท้องถิ่นคงอยู่ต่อไป
ซึ่งเมื่อพูดถึงนโยบายเชิงปฏิบัติของผู้นำท้องถิ่น คุณ Mitsunori Suzuki รองประธานสมาคมสหกรณ์การประมงอิวากิกล่าวว่า พวกเขากำลังใช้ช่วงเวลาในการฟื้นฟูนี้เพื่อ "ปรับแนวทางการปฏิบัติ และรักษาทรัพยากรในท้องถิ่น" นอกจากนี้ยังมีมีงานวิจัยของสถาบันวิจัยทรัพยากรประมงประจำจังหวัดฟุกุชิมะ ที่ใช้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนโยบายใหม่ๆ และช่วยเหลืออุตสาหกรรมไปพร้อมกัน
การค้นคว้าวิจัยที่สถาบันวิจัยทรัพยากรประมงประจำจังหวัดฟุกุชิมะ
สถาบันวิจัยการประมงจังหวัดฟุกุชิมะ
คุณ Toru Sakuma รองผู้อำนวยการ ได้กล่าวว่าสถาบันวิจัยการประมงจังหวัดฟุกุชิมะ มีวัตถุประสงค์หลักสองประการ ประการแรก เป็นสถาบันศึกษาการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ชายฝั่งน้ำตื้นนอกฟุกุชิมะ โดยพิจารณาถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและระบบนิเวศโดยทั่วไปของสิ่งมีชีวิตในทะเลที่อาศัยอยู่ในน้ำตื้น และตรวจสอบว่าอุตสาหกรรมการประมงของฟุกุชิมะจะสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืนในอนาคตได้อย่างไร ประการที่สอง เป็นสถาบันวิจัยทรัพยากรการประมง นำการวิจัยทางนิเวศวิทยาทั้งหมดไปใช้สร้างสภาพธรรมชาติขึ้นใหม่ เพื่อให้สถาบันสามารถมีส่วนร่วมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือการเลี้ยงปลา
ถังสำหรับการวิจัยรังสี
เป้าหมายเหล่านี้และตัวสถาบันวิจัยเพาะปลาแห่งจังหวัดฟุกุชิมะเองนั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ เพราะพวกเขาได้สำรวจวิธีการรักษาและปรับปรุงทรัพยากรประมงของฟุกุชิมะมาตั้งแต่สถาบันก่อตั้งเมื่อปี 1983 และเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาอาคารของสถาบันที่ตั้งอยู่ติดกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำอุ่นของโรงงานเพื่อวัตถุประสงค์ในการวิจัย หลังจากเกิดภัยพิบัติในปี 2011 ก็ได้สร้างความเสียหายให้กับอาคารของสถาบัน จนกระทั่งปี 2018 ก็ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นใหม่ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางเหนือเล็กน้อยตามแนวชายฝั่งของฟุกุชิมะ และในปัจจุบันสถาบันวิจัยทรัพยากรการประมงก็ยังคงดำเนินการตามวัตถุประสงค์หลักทั้งสองนี้ ซึ่งการระเบิดของนิวเคลียร์ในปี 2011 นั้นได้นำความท้าทายใหม่ ๆ มาให้พวกเขาได้ทำงานกันต่อไป
ปลาตาเดียว หนึ่งในปลาที่ใช้ทดลองในสถาบันวิจัย
สถาบันวิจัยทรัพยากรประมงประจำจังหวัดฟุกุชิมะ มุ่งเน้นไปที่การจัดการทรัพยากรและการเลี้ยงปลา ในฟุกุชิมะการทำความเข้าใจผลกระทบของรังสีที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลในท้องถิ่นเป็นส่วนสำคัญของงานวิจัยนี้ ในการเดินทางไปยังสถาบันวิจัยในโซมะทีม Japankuru ได้มุ่งตรงไปที่อาคารวิจัยที่มีลักษณะเหมือนโกดัง ซึ่งอยู่ห่างจากสำนักงานและห้องปฏิบัติการ เพื่อดูงานวิจัยด้วยตัวเราเอง ภายในห้องวิจัยแห่งนี้ มีถังหลายรูปร่างและหลายขนาด เต็มไปด้วยสัตว์ทะเลหลากหลายสายพันธุ์ที่ใช้ในการวิจัย
การทดลองที่เราสนใจมากที่สุดก็คือ บริเวณของถังที่มีปลาตาเดียวอยู่ ในการศึกษานี้ปลาตาเดียวทำหน้าที่เป็นตัวแทนของปลา flatfish ในบริเวณชายฝั่งของฟุกุชิมะ การวิจัยนี้จึงมีความสำคัญ เนื่องจากปลาตาเดียวเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมการประมงของฟุกุชิมะ แต่เนื่องจากว่าพวกมันใช้ชีวิตอยู่บนพื้นทะเลที่ซึ่งเป็นทรายและมีสารกัมมันตภาพรังสีอยู่ ทำให้เป็นสิ่งที่น่ากังวลมากขึ้น ที่สถาบันพวกเขาให้อาหารปลาตาเดียวด้วยอาหารปลาที่มีปริมาณกัมมันตภาพรังสีซีเซียม -137 เป็นเวลา 25 วัน ก่อนที่จะเปลี่ยนปลาครึ่งหนึ่งเป็นอาหารที่ไม่มีกัมมันตภาพรังสี และวัดระดับรังสีในปลากลุ่มต่างๆ ตลอดการทดลองจะมีการตรวจสอบและคัดกรองการทดสอบทางรังสีกับปลาที่จับได้ตามธรรมชาติ เพื่อให้มั่นใจว่าปลาที่จับได้ในฟุกุชิมะจะไม่ถูกส่งต่อให้กับผู้บริโภค อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ทำให้เราได้เห็นถึงผลกระทบของภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเกือบ 10 ปี ที่ผ่านมา และสารกัมมันตรังสีที่เหลืออยู่อาจส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลได้อย่างไร ความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่มากขึ้นเพื่อให้โจบังโมโนมีความปลอดภัยมากขึ้น
การวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำทะเลและพื้นทะเลในท้องถิ่น
การสร้างโจบังโมโนรุ่นใหม่
ปลาตาเดียว
การวิจัยในห้องปฏิบัติการและการทดลองที่ทำที่สถาบันวิจัยทรัพยากรการประมงประจำจังหวัดฟุกุชิมะนั้นมีความสำคัญ แต่เมื่อพิจารณาถึงขนาด สิ่งที่สถาบันทำส่วนใหญ่นั้นก็คือการเลี้ยงปลา การประมงพื้นบ้านมีความพยายามในการขยายพันธุ์อย่างยั่งยืนและรักษาทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้ เพื่อสนับสนุนความพยายามดังกล่าว สถาบันได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือประชากรปลาในท้องถิ่นโดยการเลี้ยงปลาท้องแบน (ปลาตาเดียว) ในท้องถิ่นตั้งแต่เป็นไข่ จากนั้นปล่อยลงสู่ทะเล เพื่อให้เติบโตแบบธรรมชาติ เมื่อเราถามถึงความสำเร็จของสถาบัน รองผู้อำนวยการ Sakuma ยิ้มและกล่าวถึงความภาคภูมิใจของเขาที่มีต่อโครงการนี้ว่า มีความก้าวหน้าขึ้น ตั้งแต่ช่วงที่เขาดูแลปลาตัวด้วยความรักความเอาใจใส่ ซึ่งไม่กี่ปีที่ผ่านมาพวกเขาก็ได้ฉลองความสำเร็จในความพยายามในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และปล่อยปลาตาเดียวญี่ปุ่น 10,000 ตัวสู่น่านน้ำนอกชายฝั่งฟุกุชิมะ ตอนนี้สถาบันวิจัยทรัพยากรประมงประจำจังหวัดฟุกุชิมะ ปล่อยปลาตาเดียวประมาณ 80,000 ตัวต่อปี และพวกเขาก็กำลังเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อด้วยเช่นกัน
ถังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ว่างเปล่าในช่วงนอกฤดู
ปลาตาเดียวญี่ปุ่นที่สถาบันเริ่มออกไข่และเมื่อฟักออกเป็นตัว พวกเขาใช้เวลาช่วงแรก ๆ ว่ายน้ำในถังขนาดมหึมาเหล่านี้ เมื่อพวกมันโตขึ้นถึงขนาด 1 – 2 ซม. พวกมันจะรวมตัวกันที่ก้นถังโดยเกาะติดกับพื้น พวกมันจะกินแพลงก์ตอนและเนื้อปลา ในระยะเวลาเพียงสามเดือนปลาจะโตอย่างรวดเร็วโดยมีความยาวประมาณ 8 – 10 ซม.
ชาวประมงในโซมะและปลาตาเดียวที่จับได้
เมื่อปลาตาเดียวมีขนาดที่ต้องการก็จะปล่อยลงสู่ทะเลใกล้ ๆ ให้พวกมันกลับไปใช้ชีวิตในทะเลที่เต็มไปด้วยแพลงก์ตอน ในทะเลชิโอเมะที่อยู่อาศัยอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณสองปีกว่าปลาจะโตเต็มที่ และในวันหนึ่งก็อาจจะถูกจับได้โดยเรือประมงในท้องถิ่นและนำมาขายให้กับร้านอาหาร ให้เราได้ชิมซาชิมิปลาโจบังโมโนแสนอร่อย
ความหวังในอนาคตของฟุกุชิมะ
คุณ Toru Sakuma รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรการประมง จังหวัดฟุกุชิมะ
เมื่อพูดถึงฟุกุชิมะ หลายคนก็จะนึกถึงแต่อดีต ไม่สามารถนึกภาพอื่นนอกจากเหตุการณ์อันโหดร้ายที่เกิดขึ้นในปี 2011 ได้ แต่งานวิจัยของสถาบันวิจัยทรัพยากรประมง ประจำจังหวัดฟุกุชิมะ พูดถึงเรื่องของอนาคต ว่าเราจะรักษาการประมงของเมืองฟุกุชิมะอย่างอิวากิและโซมะได้อย่างไร? เราจะทำให้อุตสาหกรรมก้าวไกลไปสู่อนาคตได้อย่างไร? เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าทุกคนทั้งในพื้นที่และห่างไกลสามารถเพลิดเพลินกับอาหารอร่อย ๆ ที่ทำจากโจบังโมโนสดๆได้อย่างไร? เราอาจยังไม่ทราบคำตอบทั้งหมด แต่รองผู้อำนวยการโทรุซาคุมะและนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ที่เหลือของสถาบันกำลังหาคำตอบนั้นอยู่
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาทีมงาน Japankuru ได้เล่าถึงรายละเอียดที่สำคัญทั้งหมดของการประมงและการทดสอบทางรังสีในอิวากิและโซมะ รวมทั้งสถานที่ที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตร จังหวัดฟุกุชิมะ และศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล ประจำจังหวัดฟุกุชิมะ แม้ว่าหนึ่งในส่วนที่สนุกที่สุดของโครงการนี้คือการชิมอาหารที่ทำจากปลาโจบังโมโน ตั้งแต่ซาซิมิเนื้อใสแจ๋ว ไปจนถึงหม้อไฟที่ใช้ทุกส่วนของปลาได้อย่างคุ้มค่า ในสองบทความสุดท้ายของซีรีส์นี้เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะพาคุณไปเห็นว่าอาหารอร่อย ๆ ที่คุณพลาดไม่ได้นั้นมีอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นห้ามพลาดบทความในตอนต่อไป!
ติดตามเรื่องราวจากญี่ปุ่นกับ Japankuru ได้ทาง Facebook และ Twitter!
Details
NAME:สถาบันวิจัยทรัพยากรประมงประจำจังหวัดฟุกุชิมะ
COMMENT
FEATURED MEDIA
VIEW MORESee Kyoto Clearly With Your New Glasses #japankuru #kyoto #jins #교토여행 #진즈 #京都 #교토수족관 #가모가와 #kamogawa #kyotoaquarium
The First Japanese Converse Flagship: CONVERSE STORE HARAJUKU #japankkuru #conversejp_pr #conversejapan #harajuku #tokyotrip #converse #tokyoshopping #匡威 #帆布鞋 #東京購物 #原宿 #日本時尚 #일본쇼핑 #일본컨버스 #일본한정 #하라주쿠 #일본패션 #일본스트릿 #รองเท้าconverse #รองเท้าผ้าใบ #ช้อปปิ้ง #ฮาราจูกุ #คอนเวิร์ส
Japanese Makeup Shopping • A Trip to Kamakura & Enoshima With Canmake’s Cool-Toned Summer Makeup #pr #canmake #enoshima #enoden #에노시마 #캔메이크 #japanesemakeup #japanesecosmetics
⚔️The Robot Restaurant is gone, but the Samurai Restaurant is here to take its place. Check it out, and don't forget your coupon! 🍣신주쿠의 명소 로봇 레스토랑이 사무라이 레스토랑으로 부활! 절찬 쿠폰 발급중 💃18歲以上才能入場的歌舞秀,和你想的不一樣!拿好優惠券去看看~ #tokyo #shinjuku #samurairestaurant #robotrestaurant #tokyotrip #도쿄여행 #신주쿠 #사무라이레스토랑 #이색체험 #할인이벤트 #歌舞伎町 #東京景點 #武士餐廳 #日本表演 #日本文化體驗 #japankuru #japantrip #japantravel #japanlovers #japan_of_insta
Japanese appliance & electronics shopping with our KOJIMA x BicCamera coupon! 用JAPANKURU的KOJIMA x BicCamera優惠券買這些正好❤️ 코지마 x 빅 카메라 쿠폰으로 일본 가전 제품 쇼핑하기 #pr #japankuru #japanshopping #kojima #biccamera #japaneseskincare #yaman #dji #osmopocket3 #skincaredevice #日本購物 #美容儀 #相機 #雅萌 #日本家電 #일본여행 #면세 #여행꿀팁 #일본쇼핑리스트 #쿠폰 #일본쇼핑 #일본브랜드 #할인 #코지마 #빅카메라 #japankurucoupon
Odaiba's DiverCity Tokyo Plaza is home to the famous real-size 20m-tall Unicorn Gundam, and the popular shopping center has even more Gundam on the inside! Check out the Gundam Base Tokyo on the 7th floor for shelves upon shelves of Gunpla, and the Gundam Base Tokyo Annex on the 2nd floor for cool anime merchandise. Both shops have tons of limited-edition items! #pr #odaiba #tokyo #tokyotrip #japantrip #japantravel #PR #divercity #divercitytokyoplaza #tokyoshopping #gundam #unicorngundam #gundambasetokyo #anime #otaku #gunpla #japankuru #오다이바 #다이바시티도쿄 #오다이바건담 #건담 #일본건담 #건프라 #건담베이스도쿄