[ปลาโจบัง-โมโน คืออะไรกันนะ?] พาร์ท 8 การดูแลรักษา "โจบังโมโน" ให้มั่นคงและปลอดภัย

Tohoku Tour โซมะ 2021.01.29
สถาบันวิจัยทรัพยากรประมง ประจำจังหวัดฟุกุชิมะเป็นสถานที่ที่มีเป้าหมายในในการสนับสนุนการประมงในท้องถิ่นด้วยการวิจัยและการเลี้ยงสัตว์ทะเลไปพร้อมๆกัน

ความยั่งยืนของโจบังโมโน

บริเวณมหาสมุทรนอกชายฝั่งฟุกุชิมะหรือ "ทะเลชิโอเมะ" (潮目の海) เป็นจุดเชื่อมต่อของกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นในมหาสมุทรที่มีสภาพแวดล้อมอันสมบูรณ์ เหมาะแก่การเจริญเติบโตของสัตว์ทะเล โดยเฉพาะโจบังโมโน อาหารทะเลคุณภาพดีของฟุกุชิมะ อุตสาหกรรมการประมงของฟุกุชิมะยังคงกลับมายืนหยัดได้อีกครั้งหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติในปี 2011 และในปัจจุบันการประมงในเมืองชายฝั่งทั้งอิวากิและโซมะกำลังสร้างขึ้นใหม่อย่างช้าๆ และปลาโจบังโมโน อาหารทะเลที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวบ้าน ที่พวกเขาหวังว่าจะอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นต่อ ๆ ไป
  • ตลาดอาหารทะเลแปรรูปอิโซเบะ (Isobe Marine Processing Facility Market)
เพียงแค่มองเข้าไปในตลาดแปรรูปอาหารทะเลอิโซเบะก็จะเห็นถึงความหลากหลายของโจบังโมโน และเห็นได้ว่ามีความสำคัญอย่างไรกับผู้คนในฟุกุชิมะ ตลาดปลาแห่งนี้อยู่ไม่ไกลจากจุดที่เรือประมงของโซมะจับปลาขึ้นมาตอนเช้า เพื่อทำการประมูล ปลาที่จับขึ้นมาได้สดๆวางเรียงบนชั้นและตู้แช่ ทั้งปลา หอย หมึกยักษ์ ปลาทูน่ากระป๋อง และอีกมากมาย ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากลานจอดรถ
  • หมึกยักษ์ที่ตลาดปลา
  • หอยปีกนกต้ม ที่ผ่านการทดสอบแล้ว ณ ตลาดปลา
เมื่อดูที่แพคเกจของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแบบใกล้ๆ จะเห็นว่ามีสติ๊กเกอร์ระบุว่าผลิตภัณฑ์นี้ได้ผ่านการทดสอบว่าปลอดภัยจากรังสี ซึ่งบทความก่อนหน้านี้เราได้มีการพูดถึงวิธีการทดสอบ การตรวจสอบรังสีก่อนที่โจบังโมโนจะออกสู่ตลาด ในบทความพาร์ทที่ 6 ของซีรี่ย์โจบังโมโน แต่การทำงานอย่างหนักของนักวิจัยในพื้นที่ และชาวประมงไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้น ผู้คนในบริเวณชายฝั่งฮามะ - โดริของฟุกุชิมะนั้นอยากให้วัฒนธรรมการจับปลาในท้องถิ่นคงอยู่ต่อไป

ซึ่งเมื่อพูดถึงนโยบายเชิงปฏิบัติของผู้นำท้องถิ่น คุณ Mitsunori Suzuki รองประธานสมาคมสหกรณ์การประมงอิวากิกล่าวว่า พวกเขากำลังใช้ช่วงเวลาในการฟื้นฟูนี้เพื่อ "ปรับแนวทางการปฏิบัติ และรักษาทรัพยากรในท้องถิ่น" นอกจากนี้ยังมีมีงานวิจัยของสถาบันวิจัยทรัพยากรประมงประจำจังหวัดฟุกุชิมะ ที่ใช้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนโยบายใหม่ๆ และช่วยเหลืออุตสาหกรรมไปพร้อมกัน

การค้นคว้าวิจัยที่สถาบันวิจัยทรัพยากรประมงประจำจังหวัดฟุกุชิมะ

  • สถาบันวิจัยการประมงจังหวัดฟุกุชิมะ
คุณ Toru Sakuma รองผู้อำนวยการ ได้กล่าวว่าสถาบันวิจัยการประมงจังหวัดฟุกุชิมะ มีวัตถุประสงค์หลักสองประการ ประการแรก เป็นสถาบันศึกษาการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ชายฝั่งน้ำตื้นนอกฟุกุชิมะ โดยพิจารณาถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและระบบนิเวศโดยทั่วไปของสิ่งมีชีวิตในทะเลที่อาศัยอยู่ในน้ำตื้น และตรวจสอบว่าอุตสาหกรรมการประมงของฟุกุชิมะจะสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืนในอนาคตได้อย่างไร ประการที่สอง เป็นสถาบันวิจัยทรัพยากรการประมง นำการวิจัยทางนิเวศวิทยาทั้งหมดไปใช้สร้างสภาพธรรมชาติขึ้นใหม่ เพื่อให้สถาบันสามารถมีส่วนร่วมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือการเลี้ยงปลา
  • ถังสำหรับการวิจัยรังสี
เป้าหมายเหล่านี้และตัวสถาบันวิจัยเพาะปลาแห่งจังหวัดฟุกุชิมะเองนั้นไม่ใช่สิ่งใหม่ เพราะพวกเขาได้สำรวจวิธีการรักษาและปรับปรุงทรัพยากรประมงของฟุกุชิมะมาตั้งแต่สถาบันก่อตั้งเมื่อปี 1983 และเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาอาคารของสถาบันที่ตั้งอยู่ติดกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ ได้ใช้ประโยชน์จากน้ำอุ่นของโรงงานเพื่อวัตถุประสงค์ในการวิจัย หลังจากเกิดภัยพิบัติในปี 2011 ก็ได้สร้างความเสียหายให้กับอาคารของสถาบัน จนกระทั่งปี 2018 ก็ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขึ้นใหม่ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางเหนือเล็กน้อยตามแนวชายฝั่งของฟุกุชิมะ และในปัจจุบันสถาบันวิจัยทรัพยากรการประมงก็ยังคงดำเนินการตามวัตถุประสงค์หลักทั้งสองนี้ ซึ่งการระเบิดของนิวเคลียร์ในปี 2011 นั้นได้นำความท้าทายใหม่ ๆ มาให้พวกเขาได้ทำงานกันต่อไป
  • ปลาตาเดียว หนึ่งในปลาที่ใช้ทดลองในสถาบันวิจัย
สถาบันวิจัยทรัพยากรประมงประจำจังหวัดฟุกุชิมะ มุ่งเน้นไปที่การจัดการทรัพยากรและการเลี้ยงปลา ในฟุกุชิมะการทำความเข้าใจผลกระทบของรังสีที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลในท้องถิ่นเป็นส่วนสำคัญของงานวิจัยนี้ ในการเดินทางไปยังสถาบันวิจัยในโซมะทีม Japankuru ได้มุ่งตรงไปที่อาคารวิจัยที่มีลักษณะเหมือนโกดัง ซึ่งอยู่ห่างจากสำนักงานและห้องปฏิบัติการ เพื่อดูงานวิจัยด้วยตัวเราเอง ภายในห้องวิจัยแห่งนี้ มีถังหลายรูปร่างและหลายขนาด เต็มไปด้วยสัตว์ทะเลหลากหลายสายพันธุ์ที่ใช้ในการวิจัย

การทดลองที่เราสนใจมากที่สุดก็คือ บริเวณของถังที่มีปลาตาเดียวอยู่ ในการศึกษานี้ปลาตาเดียวทำหน้าที่เป็นตัวแทนของปลา flatfish ในบริเวณชายฝั่งของฟุกุชิมะ การวิจัยนี้จึงมีความสำคัญ เนื่องจากปลาตาเดียวเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมการประมงของฟุกุชิมะ แต่เนื่องจากว่าพวกมันใช้ชีวิตอยู่บนพื้นทะเลที่ซึ่งเป็นทรายและมีสารกัมมันตภาพรังสีอยู่ ทำให้เป็นสิ่งที่น่ากังวลมากขึ้น ที่สถาบันพวกเขาให้อาหารปลาตาเดียวด้วยอาหารปลาที่มีปริมาณกัมมันตภาพรังสีซีเซียม -137 เป็นเวลา 25 วัน ก่อนที่จะเปลี่ยนปลาครึ่งหนึ่งเป็นอาหารที่ไม่มีกัมมันตภาพรังสี และวัดระดับรังสีในปลากลุ่มต่างๆ ตลอดการทดลองจะมีการตรวจสอบและคัดกรองการทดสอบทางรังสีกับปลาที่จับได้ตามธรรมชาติ เพื่อให้มั่นใจว่าปลาที่จับได้ในฟุกุชิมะจะไม่ถูกส่งต่อให้กับผู้บริโภค อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ทำให้เราได้เห็นถึงผลกระทบของภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเกือบ 10 ปี ที่ผ่านมา และสารกัมมันตรังสีที่เหลืออยู่อาจส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลได้อย่างไร ความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่มากขึ้นเพื่อให้โจบังโมโนมีความปลอดภัยมากขึ้น
  • การวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำทะเลและพื้นทะเลในท้องถิ่น

การสร้างโจบังโมโนรุ่นใหม่

  • ปลาตาเดียว
การวิจัยในห้องปฏิบัติการและการทดลองที่ทำที่สถาบันวิจัยทรัพยากรการประมงประจำจังหวัดฟุกุชิมะนั้นมีความสำคัญ แต่เมื่อพิจารณาถึงขนาด สิ่งที่สถาบันทำส่วนใหญ่นั้นก็คือการเลี้ยงปลา การประมงพื้นบ้านมีความพยายามในการขยายพันธุ์อย่างยั่งยืนและรักษาทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้ เพื่อสนับสนุนความพยายามดังกล่าว สถาบันได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือประชากรปลาในท้องถิ่นโดยการเลี้ยงปลาท้องแบน (ปลาตาเดียว) ในท้องถิ่นตั้งแต่เป็นไข่ จากนั้นปล่อยลงสู่ทะเล เพื่อให้เติบโตแบบธรรมชาติ เมื่อเราถามถึงความสำเร็จของสถาบัน รองผู้อำนวยการ Sakuma ยิ้มและกล่าวถึงความภาคภูมิใจของเขาที่มีต่อโครงการนี้ว่า มีความก้าวหน้าขึ้น ตั้งแต่ช่วงที่เขาดูแลปลาตัวด้วยความรักความเอาใจใส่ ซึ่งไม่กี่ปีที่ผ่านมาพวกเขาก็ได้ฉลองความสำเร็จในความพยายามในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และปล่อยปลาตาเดียวญี่ปุ่น 10,000 ตัวสู่น่านน้ำนอกชายฝั่งฟุกุชิมะ ตอนนี้สถาบันวิจัยทรัพยากรประมงประจำจังหวัดฟุกุชิมะ ปล่อยปลาตาเดียวประมาณ 80,000 ตัวต่อปี และพวกเขาก็กำลังเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อด้วยเช่นกัน
  • ถังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ว่างเปล่าในช่วงนอกฤดู
ปลาตาเดียวญี่ปุ่นที่สถาบันเริ่มออกไข่และเมื่อฟักออกเป็นตัว พวกเขาใช้เวลาช่วงแรก ๆ ว่ายน้ำในถังขนาดมหึมาเหล่านี้ เมื่อพวกมันโตขึ้นถึงขนาด 1 - 2 ซม. พวกมันจะรวมตัวกันที่ก้นถังโดยเกาะติดกับพื้น พวกมันจะกินแพลงก์ตอนและเนื้อปลา ในระยะเวลาเพียงสามเดือนปลาจะโตอย่างรวดเร็วโดยมีความยาวประมาณ 8 - 10 ซม.
  • ชาวประมงในโซมะและปลาตาเดียวที่จับได้
เมื่อปลาตาเดียวมีขนาดที่ต้องการก็จะปล่อยลงสู่ทะเลใกล้ ๆ ให้พวกมันกลับไปใช้ชีวิตในทะเลที่เต็มไปด้วยแพลงก์ตอน ในทะเลชิโอเมะที่อยู่อาศัยอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณสองปีกว่าปลาจะโตเต็มที่ และในวันหนึ่งก็อาจจะถูกจับได้โดยเรือประมงในท้องถิ่นและนำมาขายให้กับร้านอาหาร ให้เราได้ชิมซาชิมิปลาโจบังโมโนแสนอร่อย

ความหวังในอนาคตของฟุกุชิมะ

  • คุณ Toru Sakuma รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรการประมง จังหวัดฟุกุชิมะ
เมื่อพูดถึงฟุกุชิมะ หลายคนก็จะนึกถึงแต่อดีต ไม่สามารถนึกภาพอื่นนอกจากเหตุการณ์อันโหดร้ายที่เกิดขึ้นในปี 2011 ได้ แต่งานวิจัยของสถาบันวิจัยทรัพยากรประมง ประจำจังหวัดฟุกุชิมะ พูดถึงเรื่องของอนาคต ว่าเราจะรักษาการประมงของเมืองฟุกุชิมะอย่างอิวากิและโซมะได้อย่างไร? เราจะทำให้อุตสาหกรรมก้าวไกลไปสู่อนาคตได้อย่างไร? เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าทุกคนทั้งในพื้นที่และห่างไกลสามารถเพลิดเพลินกับอาหารอร่อย ๆ ที่ทำจากโจบังโมโนสดๆได้อย่างไร? เราอาจยังไม่ทราบคำตอบทั้งหมด แต่รองผู้อำนวยการโทรุซาคุมะและนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ที่เหลือของสถาบันกำลังหาคำตอบนั้นอยู่
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาทีมงาน Japankuru ได้เล่าถึงรายละเอียดที่สำคัญทั้งหมดของการประมงและการทดสอบทางรังสีในอิวากิและโซมะ รวมทั้งสถานที่ที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนี้ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตร จังหวัดฟุกุชิมะ และศูนย์วิจัยการประมงและวิทยาศาสตร์ทางทะเล ประจำจังหวัดฟุกุชิมะ แม้ว่าหนึ่งในส่วนที่สนุกที่สุดของโครงการนี้คือการชิมอาหารที่ทำจากปลาโจบังโมโน ตั้งแต่ซาซิมิเนื้อใสแจ๋ว  ไปจนถึงหม้อไฟที่ใช้ทุกส่วนของปลาได้อย่างคุ้มค่า ในสองบทความสุดท้ายของซีรีส์นี้เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะพาคุณไปเห็นว่าอาหารอร่อย ๆ ที่คุณพลาดไม่ได้นั้นมีอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นห้ามพลาดบทความในตอนต่อไป!

ติดตามเรื่องราวจากญี่ปุ่นกับ Japankuru ได้ทาง Facebook และ Twitter!
Basic Info
Nameสถาบันวิจัยทรัพยากรประมงประจำจังหวัดฟุกุชิมะ
Comment
POST
Related Article
ถาม-ตอบ
  • PARTNERS