รีวิวเทศกาลที่น่าสนใจในญี่ปุ่น | มาร่วมเทศกาลของญี่ปุ่น (หรือมัตสึริ) กับเทศกาลเมืองสีรุกะ จังหวัดมัตสึริกันเถอะ!!

Chubu Culture 2018.09.26
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวระหว่างเมืองเกียวโต และโตเกียว
  • ในวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา JAPANKURU ได้เดินทางไปที่เมืองเล็กๆเมืองหนึ่งที่อยู่ค่อนไปทางใต้ของจังหวัดฟุกุอิ (Fukui) ที่เรียกว่าเมืองสึรุกะ (Tsuruga (敦賀市)) โดยปกติแล้ว หากให้เพื่อนๆนึกถึงเมืองท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น เพื่อนๆก็คงจะนึกถึงโตเกียว, โอซาก้า, เกียวโต และโอกินาว่า ประมาณนี้ใช่ไหมละ สำหรับเพื่อนๆหลายคน นี่อาจจะเป็นครั้งแรกด้วยซ้ำไป ที่ได้ยินชื่อจังหวัดฟุกุอิ และถ้าหากเพื่อนๆลองไปถามคนญี่ปุ่นดูเกี่ยวกับจังหวัดฟุกุอิละก็ คนญี่ปุ่นหลายคนก็จะตอบว่า ไม่รู้ว่ามีอะไรที่น่าไปเที่ยวที่นั่นอยู่เหมือนกัน แล้วจากคำกล่าวแบบนี้แล้ว ทำไมพวกเราถึงยังตัดสินใจที่จะเดินทางไปที่นั่นอีกละ? โดยในทุกๆปีของการเริ่มต้นเดือนกันยายน จะมีการจัดเทศกาล (ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า มัตสึริ (Festival)) ในเมืองสึรุกะ จังหวัดฟุกุอิ เป็นจำนวน 4 วัน แต่ว่าในครั้งที่เรามานี้ เป็นช่วงพายุไต้ฝุ่นเข้าประเทศญี่ปุ่นพอดี ทำให้ในวันสุดท้ายของเทศกาลมีฝนตกตลอดทั้งวัน ซึ่งวันสุดท้ายนั้น ก็เป็นกิจกรรมหลักของเทศกาลนี้เสียด้วยสิ แต่ถึงจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น เทศกาลนี้ก็ยังคงมอบประสบการณ์ดีๆให้กับพวกเราอยู่ดีละนะ และแน่นอนว่าทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น ก็มีเทศกาลที่น่าสนใจอยู่มากมาย แต่ว่าในครั้งนี้ พวกเราขอมาแนะนำเทศกาลสึรุกะ (Tsuruga Festival (敦賀祭り)) พร้อมกับอธิบายเหตุผลว่าทำไมเราถึงมาเที่ยวเทศกาลนี้ให้เพื่อนๆฟังกัน มาดูกันเลยดีกว่า~

มาทำความรู้จักกับเมืองสึรุกะ จังหวัดฟุกุอิกันก่อนดีกว่า

จังหวัดฟุกุอิ ตั้งอยู่ที่บริเวณภาคกลางของประเทศญี่ปุ่น ในภูมิภาคชูบุ และเมืองสึรุกะนี้ ก็ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ของจังหวัดฟุกุอิ และมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 6,600 คน และเมื่อถึงช่วงเวลาแห่งเทศกาลสึรุกะที่จะจัดขึ้นในต้นเดือนกันยายนของทุกๆปีนั้น เมืองที่เงียบสงบแห่งนี้ ก็เติมแต่งไปด้วยสีสันมากมาย ทำให้เทศกาลนี้ดูน่าสนใจ และดึงดูดใจสุดๆ บางทีอาจจะสามารถดึงดูดความสนใจจากมิกกี้เมาส์แห่งโตเกียวดิสนีย์แลนด์ได้เลยด้วยซ้ำนะ!

วิธีการเดินทางมายังเมืองสึรุงิ จังหวัดฟุกุอิ:
➤ จากโตเกียว:
ขึ้นรถไฟหัวกระสุนฮิการิ (Hikari) มายังสถานีมาอิบาระ (Maibara Station (米原駅)) และเปลี่ยนรถไฟไปยังรถไฟด่วนพิเศษชิราซางิ (Shirasagi) และไปลงที่สถานีสึรุกะ (Tsuruga Station (敦賀駅))

➤ จากโอซาก้า:
จากสถานีโอซาก้า (Osaka Station (大阪駅)) ให้ขึ้นรถไฟด่วนพิเศษทันเดอร์เบิร์ด (Thunderbird) มาลงที่สถานีสึรุกะ (Tsuruga Station (敦賀駅))

➤ จากเกียวโต:
จากสถานีเกียวโต (Kyoto Station (京都駅)) ให้ขึ้นรถไฟด่วนพิเศษทันเดอร์เบิร์ด (Thunderbird) มาลงที่สถานีสึรุกะ (Tsuruga Station (敦賀駅))

เทศกาลสึรุกะ (Tsuruga Festival (敦賀祭り))

  • เทศกาลสึรุกะนี้ จัดขึ้นในทุกๆปีของต้นเดือนกันยายน และบางทีชาวเมืองก็เรียกเทศกาลนี้กันว่า “บากะมัตสึริ” (baka matsuri) เพราะว่าทุกๆคนที่มา ดูบ้าบอกันสุดๆเลยในช่วงเวลานี้ โดยปกติแล้ว การจัดเทศกาลงานต่างๆในประเทศญี่ปุ่น มักจะจัดขึ้นในฤดูร้อน เพราะว่าทั้งครอบครัวจะได้มาร่วมงานเทศกาลด้วยกันทั้งหมดได้ แต่ว่าเทศกาลสึรุกะนี้กลับจัดในช่วงเวลาที่พ้นการปิดภาคเรียนฤดูร้อนของเด็กๆมาแล้ว และโรงเรียนก็เปิดเรียนกันไปตามปกติแล้ว ถ้าจะเข้าร่วมละก็ เด็กๆสามารถลาเรียนได้ และผู้ใหญ่ก็สามารถลางานได้ด้วย เพื่อนๆพอจะเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมละ ว่าเทศกาลสึรุกะนี้ มันสำคัญต่อชาวเมืองฟุกุอิขนาดไหน โดยในเทศกาลก็จะมีกิจกรรมมากมายหลากหลายธีมต่างๆนานากันไป เป็นการสร้างสรรค์การแลกเปลี่ยนในเรื่องราวต่างๆ รวมถึงประสบการณ์ต่างๆระหว่างแต่ละกลุ่มของคนในเมือง ดูๆแล้วไม่เหมือนกับเทศกาลอื่นๆที่จัดขึ้นในเมืองใหญ่ๆอย่างโตเกียว หรือเกียวโตเลยใช่ไหมละ

การเริ่มต้นของเทศกาล - โยอิยามะ จุนโก (Yoiyama Junko (宵山巡行))

ในปีนี้เทศกาลเริ่มต้นขึ้นด้วยคานิวัล ยาวตลอดแนวถนนคากุระโจ (Kagura-cho Street (神楽町)) ในวันที่ 1 กันยายน ส่วนตัวงานเทศกาลจริงๆนั้น จะยังไม่เริ่มต้นจนกว่าจะถึงวันที่ 2 กันยายน และในวันแรกที่เริ่มต้นด้วยคานิวัลที่เหมือนเป็นการป่าวประกาศ หรือ “การแจ้งเตือน” ให้กับทุกๆคนได้ทราบ ได้เริ่มต้นด้วย โยอิยามะ จุนโก (Yoiyama Junko (宵山巡行)) ชาวเมืองฟุกุอิจะมีความคิดต่อโยอิยามะ จุนโกะ ว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากๆของเทศกาลสึรุกะ เพราะชาวเมืองจะเชื่อกันว่า หากไม่มีสิ่งนี้ เทศกาลก็จะเริ่มต้นไม่ได้เลยทีเดียว ลองดูไปที่การตกแต่งของขบวนเกี้ยวนี้สิ (จากที่เห็น เกี้ยวจะถูกยกลอยขึ้น ในภาษาญี่ปุ่นจึงเรียกการแห่เกี้ยวแบบนี้ว่า “dashi” 山車) ชาวเมืองจะเรียกกันว่า “โยอิยามะ” (Yoiyama) และบนเกี้ยวก็จะมีเด็กๆที่เต้นรำไปพร้อมๆกับเพลงญี่ปุ่นดั้งเดิมที่บรรเลงไป และในขณะเดียวกัน ก็จะแห่เกี้ยวมุ่งหน้าไปยังศาลเจ้าเคฮิ (氣比神宮) เพื่อไปรับพรโดยพระจากนิกายชินโตที่นั่น จากนั้นก็จะทำการแห่ขบวนเกี้ยวนี้ไปวนรอบๆเมืองเลยละ
พวกเราได้เห็นอะไรแบบนี้มานิดหน่อยจากเทศกาลอื่นๆ แต่ว่ายังไม่เคยดึงโยอิชะ (Yoisha) หรืออะไรทำนองนี้แบบจริงๆมาก่อนเลย! โดยปกติแล้ว อะไรแบบนั้นคงจะเอาไว้ให้เฉพาะชาวเมืองไว้สำหรับการสักการะ หรือกิจกรรมประเพณีดั้งเดิมเท่านั้น แต่ว่าในความเป็นจริง ที่เมืองสึรุกะนี้ ยินดีต้อนรับทุกผู้ทุกคนที่มีความสนใจให้มาเข้าร่วมกันได้หมดเลยละ! โดยไม่สนว่าเพื่อนๆจะอาศัยอยู่ที่ใด หรือจะมาจากไหน --ทุกๆคน-- สามารถสัมผัสกับประสบการณ์ในเทศกาลญี่ปุ่นแบบนี้ได้จริงๆ!! และนั่นแหละก็เป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเราถึงได้เดินทางมาเข้าร่วมเทศกาลนี้ที่เมืองสึรุกะละ!

ขบวนพาเหรดเต้นรำพื้นเมืองยามค่ำคืน (民謡踊りの夕べ; Minyo Odori no Yube)

ในคืนนั้นพวกเราได้โอกาศอันดีพอดีที่จะได้เข้าร่วม และสัมผัสกับชาวเมืองท้องถิ่นที่นี่ ที่ขบวนพาเหรดเต้นรำพื้นเมืองยามค่ำคืนของเทศกาลสึรุกะ โดยในระหว่างการเดินขบวนพาเหรดนี้ แต่ละแขวงของเมืองสึรุกะ ก็จะแสดงถึงความเป็นตัวตนของแต่ละแขวงออกมาโดยการทำ “ขบวนแห่” เพื่อแห่และเต้นไปรอบๆเมือง พร้อมกับการใส่ชุดฮัปปิ (ハッピ; happi) ด้วยลักษณะที่ต่างๆกันไป และชุดยูกาตะก็ด้วย และในค่ำคืนนี้ก็มีการแสดงการเต้นรำพื้นเมืองทั้งหมด 3 ชุดด้วยกัน แต่ว่าก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเลยนะ เพราะเนื่องจากเรามาเข้าร่วมกับแขวงแขวงหนึ่งที่ทำการแสดงในเทศกาลนี้ พวกเขาก็สอนวิธีเต้นให้กับพวกเราละ!

ในค่ำคืนนี้มีประชาชนชาวเมืองรวมๆแล้วก็กว่า 3,000 คน มาเข้าร่วมในขบวนพาเหรดเต้นรำพื้นเมืองกันอย่างสนุกสนานเลยทีเดียว และนอกเหนือจากการเต้นรำแล้ว ก็ยังมีร้านแผงอาหารท้องถิ่นขายอยู่เยอะแยะไปหมดเลยละ แล้วยังมีมาสคอตที่เป็นไดโนเสาร์เดินไปเดินมารอบๆอีกด้วย ทั้งสนุกและคุ้มค่าสุดๆที่ได้มาเห็นมาเยี่ยมชมเลยละ~

ขบวนแห่ศาลเจ้าเคลื่อนที่ (神輿渡御; Mikoshi Togyo)

มิโคชิ (มักจะแปลได้ว่า “ศาลเจ้าเคลื่อนที่”) ใช้สำหรับการแห่พระเจ้าไปรอบๆเมืองในระหว่างที่อยู่ในเทศกาลชินโต พระเจ้าจะถูกย่อส่วนให้อยู่ในศาลเจ้าขนาดย่อส่วนนี้ และการขบวนการแห่นี้ก็จะมีแค่ในช่วงเทศกาลแบบนี้เท่านั้น โดยขบวนจะเคลื่อนไปรอบๆเมือง เพื่อไปหาผู้ที่กำลังเฉลิมฉลองกับเทศกาล และอยากจะขอพรกับพระเจ้า ประเพณีดั้งเดิมแบบนี้จะรู้จักกันในชื่อ “มิโคชิ โทเกียว” (Mikoshi Togyo (神輿渡御)) แล้วก็เช่นกัน ขบวนการแห่ศาลเจ้านี้จะคล้ายๆกับการเต้นรำพื้นเมือง ที่แต่ละแขวงก็จะมีเอกลักษณ์ของตนเองที่ต่างๆกันออกไป ส่วนแขวงที่พวกเราได้ไปเข้าร่วมด้วยนั้น มีการแต่งกายด้วยชุดสีขาวล้วน ที่มีการตกแต่งเป็นลายสีน้ำเงินหน่อยๆ พร้อมทั้งแห่มิโคชิของเด็ก และแม้ว่าจะเป็นมิโคชิของเด็ก แต่ก็หนักใช่เล่นเลยนะเนี่ย!! นี่พวกเขาทำกันมาหลายต่อหลายปีแล้วได้ยังไงเนี่ย
และหลังจากที่ได้รับโอกาสในการเปลี่ยนชุดเป็นชุดตามแบบประเพณีดั้งเดิมที่ฮอลล์รวมของแขวงแล้ว พวกเราก็ได้เริ่มต้นเข้าร่วมขบวนมิโคชิ โทเกียวกันแล้วละ! พวกเราได้แบกมิโคชิไปรอบๆเมืองเพื่อไปยังศาลเจ้าเคฮิ และยังมีการหยุดตามตึกรามบ้านช่องเพื่อโยนมิโคชินี้ขึ้นไปบนอากาศอีกด้วย และถ้าหากว่ามีใคร หรือบริษัทไหนที่ทำการบริจาคให้ พวกเขาจะแขวนกระดาษเกียรติยศสีขาวที่ได้มาจากพระ เอาไว้บนหน้าต่างของศาลเจ้า เมื่อผู้ที่แบกมิโคชิเห็น พวกเขาจะทำการโยนมิโคชิขึ้นบนอากาศ เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ​ และเมื่อพวกเขาแห่กันไปถึงศาลเจ้าเคฮิแล้ว จะมีพิธีการสวดให้พรเล็กๆน้อยๆอยู่ จากนั้นพวกเราก็มาแบกมิโคชิกันไปรอบๆเมืองกันต่อ และในเทศกาลนี้ก็ยังมีโอกาสให้พวกเราได้ดื่มสาเกญี่ปุ่นกันอีกด้วย! ทุกอย่างเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมดั้งเดิมทั้งหมดเลยละ พอพวกเราได้ดื่มสาเกกันให้ชื่นใจแล้ว ก็ลืมเป็นปลิดทิ้งไปเลยว่าจริงๆแล้วมิโคชิมันหนักมากแค่ไหนน่ะ

จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจอื่นๆในจังหวัดฟุกุอิ - เรนโบว์ไลน์​ (Rainbow Line)

แล้วถ้าหากเพื่อนๆไปเที่ยวทางตอนใต้ของจังหวัดฟุกุอิในช่วงที่ไม่มีเทศกาลแล้ว จะไปไหนดีละ? พวกเราขอแนะนำที่นี่เลย เรนโบว์ไลน์​ (Rainbow Line) ในเมืองวากาซะ ลองขึ้นลิฟต์ไปยังยอดเขาของภูเขาบะอิโจดาเคะ (Mt.Baijodake) และไปชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามสุดๆกับ ทะเลสาบมิกาตะทั้งห้า ดูสิ ทะเลสาบนี้จะประกอบไปด้วย ทะเลสาบมิกาตะ (三方湖), ทะเลสาบซุยเกะสึ (水月湖), ทะเลสาบซุกะ (菅湖), ทะเลสาบคุกุชิ (久々子湖) และทะเลสาบฮิรุกะ (日向湖) แล้วทำไมถึงต้องเรียกว่าเรนโบว์ไลน์ เพื่อนๆสงสัยกันอยู่ใช่ไหมละ ท่านเจ้าของได้อธิบายเอาไว้ว่า ทะเลสาบทั้งห้าที่นี่นั้น มีคุณภาพความเค็มในน้ำต่างกันอยู่ (มี 1 ทะเลสาบที่เป็นน้ำทะเล, 3 ทะเลสาบตรงกลางเป็นน้ำกร่อย (คือนำ้ทะเลผสมน้ำจืด) และอีก 1 ทะเลสาบที่เหลือเป็นน้ำจืด) ด้วยความต่างแบบนี้ ทำให้สีของน้ำในแต่ละทะเลสาบแตกต่างกันออกไปด้วย และเมื่อแสงอาทิตย์สาดส่องลงมายังผิวน้ำของแต่ละทะเลสาบแล้ว จะเกิดเชดสีใหม่ๆของสีเขียวและน้ำเงินขึ้น ทำให้เกิดเป็น “สีรุ้ง” (Rainbow) นั่นเอง

และสิ่งที่พวกเราชื่นชอบมากๆเกี่ยวกับสถานที่นี่ก็คือ ไม่เพียงแต่ที่นี่จะมีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างมากมายให้ทำกัน และที่นี่ก็ยังเป็นพื้นที่เปิดกว้างสำหรับการมาเพลิดเพลินทำกิจกรรมต่างๆได้อีกด้วย มีตั้งแต่สวน, หินคู่รัก, ชิงช้า และเปลให้ได้ผ่อนคลายกัน ที่นี่ไม่เหมือนยอดเขาอื่นๆที่เราเคยเห็นกันมาก่อนเลยละ และสิ่งที่น่าสนุกที่น่ามาลองทำกันอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การไปเยี่ยมชมคาวาราเกะ (かわらけ) ที่อยู่ใกล้ๆกับเทนงุ-โดะ (天狗堂) ไปเขียนคำขอพรบนจานดินเหนียวกัน จากนั้นก็โยนมันลงไปในทะเลสาบได้เลย! ไม่ต้องห่วงเรื่องจานว่าจะเป็นยังไง จะเป็นขยะไหมหลังจากที่โยนลงไปเลยนะ เพราะว่าจานนี้จะสามารถย่อยสลายเองได้เมื่อเจอฝนละ
  • ✴Rainbow Line (レインボーライン )
    18-2-2 Kiyama, Wakasa-cho, MikataKaminaka-gun, Fukui
    Google Maps
    ⏰08:00 ~ 18:00 น.
    *เวลาเปิดทำการอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลต่างๆได้ ดังนั้นขอให้เพื่อนๆลองตรวจสอบที่หน้าเว็บไซต์โฮมเพจกันก่อนนะ
    💴ค่าเข้า: ผู้ใหญ่ 800 เยน, เด็ก 600 เยน (อายุ 6-15 ปี) และส่วนลดสำหรับผู้พิการ 600 เยน
    💻Rainbow Line homepage

อาหารแห่งจิตวิญญาณแบบดั้งเดิมแห่งฟุกุอิ - ซาบะ เฮชิโกะ (Saba Heshiko) หรือปลาแม็กเคอเร็ลดอง

เฮชิโกะ เป็นอาหารแห่งจิตวิญญาณที่ไม่สิ้นสุด และยังเป็นสินค้าแบบวัฒนธรรมดั้งเดิม ที่เมืองวาคาซะ และโอบามะ มีชื่อเสียงในจังหวัดฟุกุอิ เฮชิโกะ หรือปลาแม็กเคอเร็ลดองนี้ เป็นการดองที่ผสมผสานไปด้วยการหมักจากรำข้าว และน้ำเกลือ และหลายๆคนที่อาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับจานอาหารแบบนี้ ก็อาจจะแบบ ว้าว นิดหน่อย ในหลายปีก่อน ปลาแม็กเคอเร็ลของจังหวัดฟุกุอินี้ มีการนำมารับประทานกันเป็นปกติ แต่เนื่องมาจากการจับปลาที่มากเกินไป ทำให้ตอนนี้มันแทบจะไม่มีอยู่ในฟุกุอิอีกแล้ว ฉะนั้นปลาแม็กเคอเรลที่นำมาทำเฮชิโกะและเสิร์ฟในจังหวัดฟุกุอินี้ ล้วนนำเข้ามาจากประเทศนอร์เวย์ทั้งสิ้น

ที่นี่ยังมีร้านอาหารอีกหลายร้านที่เพื่อนๆสามารถมาลองทานเฮชิโกะกันได้ แต่ว่าถ้าหน้าตาของเฮชิโกะมันแปลกๆไปหน่อย เพื่อนๆก็สามารถไปทานกันได้ที่ร้าน ออโรร่า (Aurora) เพราะที่นี่เพื่อนๆสามารถทานเฮชิโกะที่อยู่ในรูปแบบแซนด์วิชเฮชิโกะ, สปาเกตตี้เฮชิโกะ และคาร์ปาซโซเฮชิโกะได้เลย เพื่อนๆสงสัยกันหรือเปล่าว่าทำไมร้านอาหารนี้ถึงนำปลาแม็กเคอเร็ลดอง มาทำให้อยู่ในรูปแบบของคาร์ปาซโซน่ะ แน่นอนว่าหนึ่งในเหตุผลที่มีนั่นก็คือ ทางร้านอยากจะให้เด็กๆสามารถลองรับประทานกันได้ แต่ว่าเหตุผลที่แท้จริงนั้น มันล้ำลึกกว่านั้นไปอีก คือ โดยดั้งเดิมแล้ว ผู้คนจะกินเฮชิโกะกันเป็นมื้ออาหารเช้า พร้อมกับข้าวสวยสักถ้วย หรือจะทานพร้อมกับขนมและเบียร์ก็ได้ ซึ่งมันก็ค่อนข้างจัดทำยากไปหน่อย ทำให้ผู้คนเริ่มไม่ชอบที่จะกินเฮชิโกะ และไม่ซื้อกินกันอีก เมื่อได้ยินดังนั้น จึงเกิดไอเดียขึ้นมา โดยนำเฮชิโกะนี้มาตัดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วทำเป็นแบบอาหารแนวตะวันตกมากขึ้น เพื่อที่จะทำให้ชาวเมืองได้เห็นถึงวิธีการใหม่ๆที่จะกินเฮชิโกะได้ ในแบบที่พวกเขาไม่เคยได้ยินมาก่อน

✴Aurora (オーロラ )
33-44-1 Kugushi, Mihama, Mikata-ku, Fukui
Google Maps
⏰08:00 ~ 22:00 น.
อย่าลืมติดตามข่าวสารและบทความใหม่ๆทุกวันของพวกเราได้ที่ JAPANKURU🐶

หรือเพิ่มพวกเราบน Google+InstagramFacebook และแบ่งปันรูปภาพสไตล์ญี่ปุ่นของคุณกัน 💖🗾
พวกเราได้มีช่วงเวลาดีๆที่เพลิดเพลินไปกับเทศกาลสึรุกะอย่างสนุกสนานเต็มที่กันไปเรียบร้อยแล้ว!
แล้วเพื่อนๆละ มาลองร่วมเทศกาลในปีหน้าดูสักหน่อยดีไหมละ?!!

วิธีการเดินทางมายังเมืองสึรุงิ จังหวัดฟุกุอิ:
➤ จากโตเกียว:
ขึ้นรถไฟหัวกระสุนฮิการิ (Hikari) มายังสถานีมาอิบาระ (Maibara Station (米原駅)) และเปลี่ยนรถไฟไปยังรถไฟด่วนพิเศษชิราซางิ (Shirasagi) และไปลงที่สถานีสึรุกะ (Tsuruga Station (敦賀駅))

➤ จากโอซาก้า:
จากสถานีโอซาก้า (Osaka Station (大阪駅)) ให้ขึ้นรถไฟด่วนพิเศษทันเดอร์เบิร์ด (Thunderbird) มาลงที่สถานีสึรุกะ (Tsuruga Station (敦賀駅))

➤ จากเกียวโต:
จากสถานีเกียวโต (Kyoto Station (京都駅)) ให้ขึ้นรถไฟด่วนพิเศษทันเดอร์เบิร์ด (Thunderbird) มาลงที่สถานีสึรุกะ (Tsuruga Station (敦賀駅))
Basic Info
Stationสถานี Tsuruga
Websitehttp://tsurugamatsuri.info/
Comment
POST
Related Article
ถาม-ตอบ
  • PARTNERS